ส่วนประกอบของ Photoshop cs6

ส่วนประกอบของ Adobe Photoshop CS6

1.แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar)
   แถบเมนูคำสั่งประกอบไปด้วยทั้งหมด 10 เมนูคำสั่ง โดยแสดงชื่อเมนูคำสั่งและรูปแบบการทำงาน
รูปแบบการทำงานของแถบเมนูคำสั่ง
File  สำหรับจัดการกับไฟล์ภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น สร้างไฟล์งานใหม่ เปิดไฟล์ภาพ บันทึกไฟล์งาน นำเข้าหรือส่งออกไฟล์เพื่อทำงานในลักษณะอื่น ๆ
Edit  สำหรับแก้ไขภาพ เช่น ตัด คัดลอก วาง รวมถึงปรับแต่งค่าเบื้องต้นของโปรแกรม
 Image  สำหรับจัดการภาพ เช่น แก้ไขความสว่างหรือสีของภาพให้สมดุลยิ่งขึ้น รวมถึงใช้สำหรับย่อขยายขนาดภาพ และกำหนดขนาดพื้นที่การทำงานของภาพ
Layer  สำหรับจัดการเกี่ยวกับเลเยอร์ เช่น การสร้างเลเยอร์ใหม่ การรวมเลเยอร์ การแปลง เลเยอร์ การจัดการกับเลเยอร์ของไฟล์ลักษณะต่าง ๆ รวมถึงการจัดการรายละเอียดของภาพในเลเยอร์นั้น ๆ
Type  สำหรับจัดการและปรับแต่งเกี่ยวกับข้อความ เช่น ปรับแต่งสีข้อความ ปรับแต่งขอบข้อความ หรือการเปลี่ยนข้อความให้เป็นภาพ
Select  สำหรับปรับแต่งการเลือกพื้นที่ บันทึกและเรียกพื้นที่ที่เลือกมาใช้งาน รวมถึงคำสั่งสำหรับการเลือกพื้นที่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
Filter สำหรับปรับแต่งภาพให้มีรูปแบบที่น่าสนใจยิ่งขึ้น บิด ดัดปรับรูปทรงรูปแบบต่าง ๆ ให้กับภาพ
View  สำหรับเลือกรูปแบบการแสดงผล เช่น ย่อขยายภาพ แสดงไม้บรรทัด เส้นกริด หรือเส้นไกด์
Window สำหรับเลือกเปิดปิดพาเนล รวมถึงกำหนดรูปแบบการแสดงหน้าต่างในแบบต่าง ๆ
Help  ใช้สำหรับแสดงความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรือคำสั่งในรูปแบบต่าง ๆ
 แถบตัวเลือก (Options Bar)  เป็นส่วนที่ใช้ในการปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือ   ต่าง ๆ การกำหนดค่าในแถบตัวเลือกจะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่ใช้งานอยู่
2. แถบตัวเลือก (Options Bar)
  กล่องเครื่องมือ (Toolbox)   เป็นส่วนที่ใช้เก็บเครื่องมือพื้นฐานในการทำงาน ในโปรแกรม สามารถเรียกใช้ชุดเครื่องมือย่อยโดยการคลิกรูปสามเหลี่ยมที่มุมด้านล่าง
 3.กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
            เครื่องมือพื้นฐานบนกล่องเครื่องมือของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ได้แบ่ง การทำงานออกเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่มย่อย ๆ ดังแสดงในตาราง

ตาราง  เครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6

ชื่อเครื่องมือ
ความหมาย
Move Tool
ใช้เคลื่อนย้ายภาพบริเวณที่เลือกพื้นที่หรือไม่ได้เลือกพื้นที่ไปยังตำแหน่งใหม่
1. Rectangular Marquee Tool
2. Elliptical Marquee Tool
3. Single Row Marquee Tool
4. Single Column Marquee Tool
1. เลือกพื้นที่แบบรูปทรงสี่เหลี่ยม
2. เลือกพื้นที่แบบรูปทรงวงกลม วงรี
3. เลือกพื้นที่แบบเส้นตรงแนวนอน
4. เลือกพื้นที่แบบเส้นตรงแนวตั้ง
1. Lasso Tool
2. Polygonal Lasso Tool
3. Magnetic Lasso Tool
1. เลือกพื้นที่แบบอิสระ
2. เลือกพื้นที่แบบมุมเหลี่ยม
3. เลือกพื้นที่แบบชิดเส้นขอบภาพ
1. Quick Selection Tool
2. Magic Wand Tool
1. เลือกพื้นที่ตามพื้นที่ที่ลากเมาส์ผ่าน
2. เลือกพื้นที่โดยยึดตามสีที่มีค่าใกล้เคียงกัน
1. Crop Tool
2. Perspective Crop Tool
3. Slice Tool
4. Slice Select Tool
1. ใช้ตัดภาพโดยเลือกเฉพาะบริเวณที่ต้องการใช้งาน
2. ใช้ตัดภาพที่มีมุมบิดเบี้ยวให้กลายเป็นมุมที่ถูกต้อง
3. ใช้ตัดภาพออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อนำไป ใช้ออกแบบบนเว็บเพจ
4. ใช้ปรับแต่งขนาดของภาพที่ตัดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากเครื่องมือ Slice Tool
1. Eyedropper Tool
2. Color Sampler Tool
3. Ruler Tool
4. Note Tool
1. ใช้เลือกสีจากภาพไปใช้งาน
2. ใช้ดูดสีไว้สำหรับเปรียบเทียบค่า
3. ใช้วัดระยะห่างและกำหนดตำแหน่ง
4. ใช้เพิ่มคำอธิบายให้กับภาพ
1. Spot Healing Brush Tool
2. Healing Brush Tool
3. Patch Tool
4. Content-Aware Move Tool
1. ใช้แก้ไขจุดบกพร่องขนาดเล็กบนภาพ
2. ใช้แก้ไขจุดบกพร่องขนาดใหญ่บนภาพ
3. ใช้แก้ไขพื้นผิวของภาพขนาดใหญ่ โดยการนำพื้นผิวอื่นมาแปะทับ
4. ใช้ย้ายวัตถุในภาพไปยังตำแหน่งใหม่ โดยเครื่องมือจะเติมสีพื้นหลังให้ด้วย
5. ใช้แก้ไขภาพถ่ายตาแดง
1. Clone Stamp Tool
2. Pattern Stamp Tool
1. ใช้คัดลอกวัตถุจากจุดหนึ่งไปแปะทับอีกจุดหนึ่ง
2. ใช้ตกแต่งภาพพื้นผิวที่คลิกแทนที่ลงไปบนภาพ
1. Eraser Tool
2. Background Eraser Tool
3. Magic Eraser Tool
1. ใช้ลบพื้นที่ที่ไม่ต้องการและแทนที่ด้วยสีพื้นหลัง
2. ใช้ลบภาพพื้นหลังออกด้วยการคลิกเลือกสีที่จะลบและจะได้พื้นหลังแบบโปร่งใส
3. ใช้ลบสีพื้นหลังภาพอย่างรวดเร็วและ  จะได้พื้นหลังแบบโปร่งใส
1. Blur Tool
2. Sharpen Tool
3. Smudge Tool
1. ใช้ระบายภาพให้เบลอในจุดที่ลากเมาส์
2. ใช้ปรับเพิ่มความคมชัดให้ภาพ
3. ใช้เกลี่ยสีให้กลมกลืนในจุดที่ลากเมาส์
1. Dodge Tool
2. Burn Tool
3. Sponge Tool
1. ใช้เพิ่มความสว่างให้จุดที่ลากเมาส์ผ่าน
2. ใช้เพิ่มความมืดให้จุดที่ลากเมาส์ผ่าน
3. ใช้ลดและเพิ่มความอิ่มตัวของสี โดยการลากเมาส์ผ่าน
1. Brush Tool
2. Pencil Tool
3. Color Replacement Tool
4. Mixer Brush To
1. ใช้สร้างเส้นหรือลวดลายให้กับเส้น
2. ใช้สร้างเส้นหรือลวดลาย แต่จะได้เส้นที่หยาบกว่า
3. ใช้เปลี่ยนสีภาพเป็นสีใหม่
4. ใช้เกลี่ยสีของภาพให้กลายเป็นภาพวาด
1. History Brush Tool
2. Art History Brush Tool
1. ใช้ย้อนกลับการทำงานคำสั่งที่ผิดพลาดเมื่อลากเมาส์ไปบนภาพ
2. ใช้เปลี่ยนเป็นภาพวาดแบบง่าย ๆ เมื่อลากเมาส์ไปบนภาพ
1. Gradient Tool
2. Paint Bucket Tool
1. ใช้ลากเมาส์ไปบนภาพเพื่อไล่เฉดสี
2. ใช้เพื่อเติมสีหรือลวดลายลงไปบนภาพ
1. Pen Tool
2. Freeform Pen Tool
3. Add Anchor Point Tool
4. Delete Anchor Point Tool
5. Convert Point Tool
1. ใช้สร้างเส้นพาธรอบภาพโดยการลากเมาส์กำหนดทิศทาง
2. ใช้สร้างเส้นพาธแบบอิสระเพื่อปรับแต่งในภายหลัง
3. ใช้เพิ่มจุดแองเคอร์เพื่อปรับแต่งรูปทรงเส้นพาธ
4. ใช้ลบจุดแองเคอร์ที่มากเกินไป
5. ใช้ปรับแต่งมุมของเส้นพาธ
1. Horizontal Type Tool
2. Vertical Type Tool
3. Horizontal Type Mask Tool
4. Vertical Type Mask Tool
1. ใช้สร้างข้อความแบบเวคเตอร์ในแนว นอน
2. ใช้สร้างข้อความแบบเวคเตอร์ในแนวตั้ง
3. ใช้สร้างข้อความแบบราสเตอร์ในแนว นอน
4. ใช้สร้างข้อความแบบราสเตอร์ในแนวตั้ง
1. Path Selection Tool
2. Direct Selection Tool
1. ใช้ย้ายตำแหน่งหรือปรับขนาดเส้นพาธ
2. ใช้คลิกไปบนจุดแองเคอร์เพื่อปรับแต่งรูปทรงเส้นพาธ
1. Rectangle Tool
2. Rounded Rectangle Tool
3. Ellipse Tool
4. Polygon Tool 5. Line Tool
6. Custom Shape Tool
1. ใช้สร้างรูปทรงสี่เหลี่ยม
2. ใช้สร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมโค้งมน
3. ใช้สร้างรูปทรงวงกลม วงรี
4. ใช้สร้างรูปทรงหลายเหลี่ยม รูปดาว
5. ใช้สร้างรูปทรงเส้นตรง
6. ใช้สร้างรูปทรงสำเร็จรูป
1. Hand Tool
2. Rotate View Tool
1. ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ
2. ใช้หมุนภาพไปในทิศทางต่าง ๆ
Zoom Tool
ใช้ขยายดูส่วนที่ต้องการของภาพ
Foreground/Background
ใช้กำหนดสีพื้นหน้าและสีพื้นหลัง
Edit in Standard Mode/
Edit in Quick Mask Mode
ใช้แสดงหรือแก้ไขภาพในโหมดปกติและแสดงการทำงานคล้ายการสร้างหน้ากาก เพื่อปิดบังพื้นที่ส่วนที่ไม่ต้องการเลือกเอาไว้ โดยสามารถคลิกเมาส์สลับโหมดไปมาได้
1. Standard Screen Mode
2. Full Screen Mode with Menu Bar
3. Full Screen Mode
1. ใช้แสดงหน้าจอแบบมาตรฐานปกติ
2. ใช้แสดงแบบเต็มหน้าจอโดยไม่มีแถบ  ชื่อเรื่องของโปรแกรม
3. ใช้แสดงแบบเต็มหน้าจอโดยไม่มีแถบ  ชื่อเรื่องและแถบเมนูคำสั่ง
4.พื้นที่ใช้งาน (Working Area) 

             เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างงานกราฟิก โดยการเปิดไฟล์ภาพเพื่อแก้ไขบนพื้นที่ใช้งาน หรือวาดภาพใหม่ลงไปบนพื้นที่ใช้งาน 

ที่มา https://sites.google.com/site/computeronlineinth/neuxha-bth-reiyn/-photoshop-cs5/---photoshop-cs3

น.ส. ณัฐชา จันทร์สง่า ชั้น ม.6/4 เลขที่29

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ถ้าคุณต้องการที่จะเรียนรู้การรีทัชภาพถ่ายบุคคล

ภาพฟุ้งกะะจาย